วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

แบบการเรียนการสอนครั้งที่ 3

Image result for ยินดีต้อนรับ

สำหรับการเรียนการสอนในครั้งนี้นั้น เป็นการเริ่มต้นของ บทที่ 2 : ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

 

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) 

เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ


โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ

อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก

อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ


ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม



ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน


อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) 
เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว

ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจและไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiativeversus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี

“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุทำให้เป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”



ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) 

เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า
 “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”


ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์



ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget)

 นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา



ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์

ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี

ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ

ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี

ระยะที่  2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี



ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก  (Lowrence Kohlberg) 
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์


ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก

ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี


ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์ (Jerome.S.Bruner) 

ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก


พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้

💜ให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
💜การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
💜 พัฒนาการทางความคิด
💜 ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
💜 ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
💜 การพัฒนาทางความคิด

ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนและช่วยแสดงความคิดเห็นมากค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก

ประเมินอาจารย์ อ.บาสสอนสนุกและมีคลิปมาให้นักศึกษาดูประกอบการเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น