วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

การเรียนการสอนครั้งที่ 11

Image result for ยินดีต้อนรับ

วันอังคาร ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

   สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ คือ การนำเสนองานกลุ่มที่ได้ไปสัมภาษณ์อาจารย์จากสถานศึกษาต่างๆที่แต่ละกลุ่มทำการสัมภาษณ์มา พร้อมคำถาม 5 คำถาม เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ติชมต่างๆ


   จากนั้นทำกิจกรรม โดยจับกลุ่มละ 3 คน 5 กลุ่ม 4 คน 3 กลุ่ม ทั้งหมด 8 กลุ่ม ตามหัวข้อ กิจกรรมที่ทำ คือ หากิจกรรมหรือวิธีการที่สอดคล้องกับ คือ "คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ" ใช้เวลา 10 นาทีต่อกลุ่ม โดยการจับฉลากตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจับได้ แล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป โดยอาจารย์ไม่ได้กำหนดรูปแบบในการนำเสนอ สามารถนำเสนอได้ตามความพอใจในแต่ละกลุ่ม


บรรยากาศในห้องเรียน


ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนและตั้งใจชมสิ่งที่เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน 

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจชมสิ่งที่เพื่อนกลุ่มอื่นกำลังนำเสนอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ความสนใจกับผลงานนักศึกษา มีข้อแนะนำที่สามารถนำไปเป็นประโยชน์ในการทำงานอื่นๆต่อไปได้

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

การเรียนการสอนครั้งที่ 10

Image result for ยินดีต้อนรับ
วันอังคาร ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

   สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ อยู่ในหัวข้อเรื่อง " แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ "
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล ( Implicit Environment ) ได้แก่ การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบไร้ท่อ เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมภายนอก ( Explicit Environment ) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป้นนามธรรม ได้แก่ ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมม
   สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือ เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆนั้นเกี่ยวข้องด้วย

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
  • ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
  • ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
  • ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
  • ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า จริธรรม ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
   " จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฎิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร "
" จริยธรรม คือ หลังคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ "

ทฤษฏีจริธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
โคลเบอร์ก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โคลเบิร์ก

   เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อมๆกับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
  • ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กปฐมวัยจึงตัดสินถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง และตามกฎเกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนด แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
   ขั้นตอนที่ 1 : การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล ถ้าถูกลงโทษถือว่าทำไม่ดี เด็กวัยนี้ยังไม่มีเหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ นอกจากปฎิบัติตามคำสอนของผู้ใหญ่
   ขั้นตอนที่ 2 : การปฎิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว เด็กจะนำความต้องการของตนมากำหนดสิ่งที่ถูกและผิด ถ้าหากปฎิบัติสิ่งใดแล้วได้รางวัลก็ยึดถถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นการชมเชยและให้รางวัลเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นวิธีสอนจริยธรรม ความประพฤติให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถตัดสินใจสิ่งต่างๆได้ด้วยเหตุผลของตนเอง

  • ระดับกฎเกณฑ์สังคม 
  •  ระดับเลยกฎเกณฑ์สังคม
  สกินเนอร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สกินเนอร์

   นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า พฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า " การเสริมแรงทางบวก " แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า " การลงโทษ " การอธิบายถึงการเรียนรู้ด้านจริยธรรมผ่านกระบวนการการเสริมแรงและการลงโทา หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีแล้วได้รับผลชมเชยยกย่อง คือ เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่หากแสดงพฤติกรรมใดแล้วถูกลงโทษ เด็กจะระงับหรือหยุดการกระทำนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่ตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝังเด็ก

แบนดูรา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบนดูรา

   นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยสังเกตจากตัวแบบทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือ ตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม และจะทำหน้าที่ในการระงับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เด็กปฐมวัยจึงเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากตัวแบบ ผู้ใหญ่และสังคมจึงเป็นตัวแบบที่เด็กดุสังเกตและลอกแบบ การสอนจริยธรรมในแนวคิดนี้คือ การสร้างและเลือกตัวแบบที่ดีให้เด็กได้สังเกต สำหรับกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี 4 ขั้นตอน คือ  
   ขั้นตอนที่ 1: กระบวนการตั้งใจ เป็นการที่เด็กได้เห็นตัวแบบที่น่าสนใจ ดังนั้นตัวแบบจึงต้องแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน และเมื่อเด็กสนใจแสดงพฤติกรรมที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง เพื่อให้เด็กเกิดพฤติกรรมซ้ำ
   ขั้นตอนที่ 2 : กระบวนการเก็บจำ เมื่อเด็กสังเกตเห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมที่ดี และได้รับการยกย่องชมเชย และได้เห็นตัวแบบแสดงพฤติกรรมบ่อยๆ เด็กเกิดความสนใจต้องการแสดงพฤติกรรมเช่นเดียวกับตัวแบบ เด็กจะหาวิธีเก็บและจดจำข้อมูลการแสดงพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ 
   ขั้นตอนที่ 3 : กระบวนการกระทำ เมื่อเด็กจดจำข้อมูลได้และเก็บไว้ในความคิดเมื่อเผชิญสถานการณ์ เด้กจะนำข้อมูลมาแสดงเป็นพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของตัวแบบ เพื่อให้ได้ผลเหมือนตัวแบบ
   ขั้นตอนที่ 4 : กระบวนการจูงใจ เมื่อเด็กสังเกตตัวแบบและจดจำข้อมูลไว้ และเมื่อเผชิญสถานการณ์ ถ้าหากมีการจูงใจและเด็กคาดว่าจะได้รับการเสริมแรง เด้กจะแสดงพฤติกรรมออกมา ดังนั้นถ้าหากเด้กแสดงพฤติกรรมดี จึงควรได้รับผลในลักษณะการเสริมแรงเหมือนตัวแบบได้รับการจูงใจ จึงเป็นสิ่งสนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมจริยธรรม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บรรยากาศในห้องเรียน

ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากกว่าวันอื่นๆเลยค่ะ 

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนสนุกมากค่ะ ทำให้เนื้อหาที่เรียนดูน่าสนใจ

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -


การเรียนการสอนครั้งที่ 9

Image result for ยินดีต้อนรับ

วันอังคาร ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

   สำหรับคาบเรียนในสัปดาห์นี้นั้น เป็นการสอบเก็บคะแนน ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
  • พัฒนาการของเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี
  • พฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
  • การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  • การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน
   ซึ่งข้อสอบเป็นข้อเขียนทั้งสิ้น มีทั้งหมด 4 ข้อ รวมเป็น 20 คะแนน เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง นั้นคือ 12.00 - 14.00 น.

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

การเรียนการสอนครั้งที่ 8


Image result for ยินดีต้อนรับ
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2561

  การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ ก็ถือว่าจบในส่วนเนื้อหาแล้ว อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องไปสังเกตุการณ์การเรียนการสอนที่ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ซอยเสือใหญ่ ว่าต้องรอให้อาจารย์ดำเนินการติดต่อกับทางมูลนิธืก่อนจึงจะเข้าไปได้ และอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการเปิดเรียนในปีการศึกษา 2561 การลงทะเบียนเรียน จากนั้นจึงเป็นการนำเสนองาน เรื่องรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลย การอบรมเลี้ยงดูแบบถนอมมากเกินไป

  มีทั้งแบบเปิดคลิปบทบาทสมมุติให้เพื่อนๆนักศึกษาดูในห้องเรียนและแสดงบทบาทสมมุติในห้องเรียน

เปิดคลิปรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูปล่อบปะละเลย

แสดงบทบาทสมมุติรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูถนอมมากเกินไป
   ท้ายคาบการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบข้อเขียน 4 ข้อ 20 คะแนน พร้อมทั้งนัดวันเวลาให้นักศึกษาได้เตรียมตัว นั้นก็คือการสอบในสัปดาหืหน้า เวลา 12.00 - 14.00น.

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังแนวข้อสอบ และชมการแสดงบทบาทสมมุติของเพื่อนๆทุกกลุ่มค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจกับการแสดงบทบาทสมมุติของเพื่อนมาก ชมกันอย่างสนุกสนานและตั้งใจซ้อมในห้องสำหรับเพื่อนที่แสดงบทบาทสมมุติในห้องเรียน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ความสนใจกับบทบาทสมมุตอของนักศึกษา ให้ข้อติชมในการทำบทบาทสมมุติว่าควยต่อเนื่องเรื่องให้มีความยาวมาากว่านี้ ต้องแสดงชื่อเรื่องได้อย่างชัดเจน เสียงของคลิปต้องดังอย่างพอดี

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

การเรียนการสอนครั้งที่ 7


Image result for ยินดีต้อนรับ
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

  การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ เนื่องจากนักศึกษาจะต้องไปสังเกตการเรียนการสอนของเด็กๆ ที่สรุปเป็นเอกฉันท์แล้วว่า จะไปที่ มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ซอยเสือใหญ่ เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ คือ บทที่ 5 การอบนมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



  การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึง การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก ปฎิบัติกับเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการครบทั้ง 5 ด้าน ผู้อบรมต้องอบรมด้วยความรัก ความเข้าใจ และปรับวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะกับสภาพสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตไปเป็นคนดี สามารถเผชิญกับสภาพการณ์ของสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

  ความสำคัญของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู คุณภาพปละประสิทธิภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับแต่ละคนตามวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยทำงานที่จะมีคุณภาพและประสิทธิภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ ฝึกฝน และประสบการณืที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน การเรียนรู้ครั้งแรกของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ถือว่าพ่อแม่นั้นคือ คุณครูคนแรก ♥

บทบาทและหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู  
  • มีเจตคติที่ดีต่อเด็ก
  • สนองความต้องการของเด็กในทุกๆด้าน
  • ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีให้กับเด็ก
  • ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อบุคคลและสิ่งต่างๆส่งเสริมความสนใจของเด็ก
  • ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
  • สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเด็ก
  • ทำตัวเป็นครูของลูก
  • การให้แรงเสริมและการลงโทษ
บทบาทและหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู
  • การตี
  • การขู่
  • การให้สินบน
  • การเยาะเย้ย
  • การทำโทษที่รุนแรงเกินไป
  • การล้อเลียน
  • การคาดโทษ
  • การกระทำที่ทำให้ได้รับความเจ็บปวด
  • การทำให้ได้รับความอับอาย
  • การเปรียบเทียบกับเด็กที่เล็กกว่า
  • การโต้ถียง ขัดแย้ง
  • การเข้มงวดเกินไป
  • การปล่อยปะละเลย
 การดูแลเด็กวัยทารก นับตั้งแต่ออกจากครรภ์ - 2ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆทุกด้าน เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด พ่อแม่ควรใช้ระยะเวลานี้ในการส่งเสริมให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยตอบสนองความต้องการจำเป็นต่างๆ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีครบทั้ง 5 ด้าน

 การดูแลสุขภาพ
  • การอาบน้ำ
  • การสระผม
  • การเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • เสื้อผ้าที่สวมใส่ ควรสะอาด
  • ปากและฟัน

 การดูแลด้านโภชนาการ ความต้องการทางด้านอาหารของทารก มีดังนี้
  • โปรตีน
  • พลังงาน
  • วิตามิน
  • เกลือแร่ เช่น เหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม สังกะสี

 การเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะที่สุดกับวัยนี้ เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างภูมิต้านทานโรค ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ นมแม่แบ่งเป็น 2 ระยะ
  • น้ำนมเหลือง ออกมา 2-4 วันแรก จะหลังภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด
  • น้ำนมแม่ หลังคลอด 2-4 วัน

การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน หรือวัยเด็กตอนต้น อายุ 2-5 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต เพราะ เป็นวัยทองของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุด เด็กจะเป็นคนอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับวัยนี้

 การสร้างระเบียบวินัย 
หลังของระเบียบวินัย มีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
  • เด็กต้องประพฤติในสิ่งที่ดี และขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
  • เด็กต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับการกระทำดีและไม่พึงพอใจกับการกระทำที่ไม่ดี และหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น
  • เด็กต้องการทำความดีจนกระทั่งเกิดความเคยชินหรือเกิดเป็นนิสัยโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ
  • เด็กต้องเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่พึงปรารถนาเป็น พฤติกรรมที่ดีที่พึงปรารถนาของสังคม
การฝึกวินัย นักจิตวิทยาได้แยกการฝึกวินัยออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  • ใช้ความรักเป็นตัวนำ
  • ใช้วัตถุเป็นตัวนำ
  • การวางกฎเกณฑ์
การช่วยให้เด็กรู้จักบังคับตน
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูก
  • ให้อิสรภาพแก่เด็ก
  • ไม่มอบความรับผิดชอบแก่เด็กจนเกินกำลัง
  • ช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เด็กสนใจ
  • มีความนับถือตัวเด็ก
  • ยกย่องชมเชยเด็กในโอกาสอันควร
  • อธิบายเหตุผลต่างๆ ให้เด็กก่อนที่จะให้ทำตาม
  • มีความคงเส้นคงวา
การปฎิบัติตนของพ่อแม่ในการฝึกวินัย
  • สร้างความศรัทธาให้แก่ลูกเสียก่อน
  • จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ใช้อำนาจแบบอ่อนโยน
  • ไม่ใช้อำนาจอย่างไร้เหตุผล
  • ออกคำสั่งในรูปการชักชวน
  • ไม่ควรขัดแย้งกันเองให้ลูกเห็น
  • ต้องตัดสินปัญหาร่วมกันได้
  • ไม่ควรให้เด็กทำอะไรเมื่อเขาไม่พร้อม
  • ควรส่งเสริมให้รู้จักตัดสินในความคิด เมื่อลูกเริ่มรู้จักคิด
  • ให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
  • เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองให้กับลูก
บรรยากาศในห้องเรียน


ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนสนุกมากค่ะ ทำให้เนื้อหาที่เรียนดูน่าสนใจ

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -



การเรียนการสอนครั้งที่ 6

Image result for ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

   การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ ยังคงอยู่ในช่วงของการนำเสนองานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากจำนวนของนักศึกษาและกลุ่มมีมาก ทำให้นำเสนอในสัปดาห์เดียวไม่เพียงพอ



ประเมินตนเอง  ตั้งใจนำเสนองานกลุุ่มในส่วนที่ตัวเองได้รับมอบหมาย และตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นค่ะ


ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจนำเสนองานของตัวเอง และตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นที่ออกมานำเสนอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ฟังทุกการนำเสนอของนักศึกษา ใส่ใจนักศึกษาทุกคนและมาตรงเวลา

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

การเรียนการสอนครั้งที่ 5






Image result for ยินดีต้อนรับ



วันอังคาร ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

   การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานที่สั่งไป มีทั้งงานกลุ่มในเรื่อง "ความต้องการของเด็กปฐมวัย" และงานเดี่ยว เรื่อง"ทฤษฎีพัฒนาการ"



ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือเวลาเพื่อนทำการนำเสนอด้วยการตั้งใจฟังค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจนำเสนองานของตัวเอง และตั้งใจฟังเพื่อนคนอื่นที่ออกมานำเสนอ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ฟังทุกการนำเสนอของนักศึกษา และมาตรงเวลา

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย


- Thank you for Reading -

แบบการเรียนการสอนครั้งที่ 4

Image result for ยินดีต้อนรับ
วันอังคาร ที่  30 มกราคม พ.ศ. 2561

   สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความที่ได้ไปค้นคว้า เกี่ยวกับเรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย แต่ละคนก็ได้นำเสนอบทความที่มีเนื้อหาแต่งต่างกันออกไป เช่น เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ฉลาด อาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงอายุ และนิทานที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


   เมื่อนักศึกษาส่วนหนึ่งได้ทำการนำเสนอบทความเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม ผ่านการเขียนลงในกระดาษแผ่นใหญ่แล้วนำเสนอ โดยมีโจทย์ดังนี้

ความต้องการของเด็กปฐมวัย
- ความต้องการของเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง?
- ครู จะมีวิธีการตอบสนองความต้องการอย่างไร?
- พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร?

   แต่ด้วยระยะเวลาในคาบเรียนนั้นมีไม่พอในการนำเสนอ และนักศึกษาส่วนหนึ่งมีเรียนวิชา GE ต่อจึงต้องยกไปนำเสนอในสัปดาห์หน้าแทน




ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังที่เพื่อนนักศึกษานำเสนอบทความ และพยายามตั้งคำถามในบทความของเพื่อน

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษามีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน และสนใจบทความที่เพื่อนนักศึกษาคนอื่นกำลังนำเสนออยู่อย่างตั้งอกตั้งใจ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมกับหัวข้อที่เพื่อนนักศึกษาได้ออกมานำเสนอ และให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนออย่างไรให้น่าฟัง ดูเป็นธรรมชาติ

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -

แบบการเรียนการสอนครั้งที่ 3

Image result for ยินดีต้อนรับ

สำหรับการเรียนการสอนในครั้งนี้นั้น เป็นการเริ่มต้นของ บทที่ 2 : ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

 

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) 

เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ


โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ

อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก

อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ


ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม



ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน


อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) 
เป็นนักจิตวิทยา  พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว

ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี
ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจและไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiativeversus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี

“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสันได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุทำให้เป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป…”



ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) 

เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดยกล่าวว่า
 “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”


ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์



ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget)

 นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา



ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์

ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี

ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ

ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) อายุ 2 – 4 ปี

ระยะที่  2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี



ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก  (Lowrence Kohlberg) 
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์


ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก

ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional
วัย 2 – 10 ปี มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี


ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์ (Jerome.S.Bruner) 

ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก


พัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้

💜ให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น
💜การเรียนสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ
💜 พัฒนาการทางความคิด
💜 ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
💜 ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
💜 การพัฒนาทางความคิด

ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนและช่วยแสดงความคิดเห็นมากค่ะ

ประเมินเพื่อน เพื่อนๆนักศึกษาให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนมาก

ประเมินอาจารย์ อ.บาสสอนสนุกและมีคลิปมาให้นักศึกษาดูประกอบการเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เยี่ยมชม บล็อกขอหนู 
และหวังว่า บล็อก ของดิฉัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชม
ไม่มากก็น้อย

- Thank you for Reading -